คุณธรรมจริยธรรมสำหรับครู
วิชาชีพครูได้รับการยกย่องและจัดเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่มีความจำเป็นต่อสังคม เป็นอาชีพที่ช่วยสร้างสรรค์จรรโลงสังคมให้ไปในทิศทางที่ปราถนา ฉะนั้นกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพครูจึงต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมในระดับสูงเช่นกัน ยิ่งสังคมยกย่องเคารพและไว้วางใจผู้ประกอบวิชาชีพครูมากเท่าใด ผู้ประกอบวิชาชีพครูก็ต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับความเคารพเชื่อถือไว้วางใจเพียงนั้น การกำหนดจรรณยาบรรณครูหรือจรรณยาวิชาชีพครูจึงเป็นมาตรการหนึ่งที่ใช้ควบคุมความประพฤติปฏิบัติตนของผู้ประกอบวิชาชีพครู อาจกล่าวได้ว่าเป็นการประกันคุณภาพของครูให้กับสังคมประการหนึ่งด้วย เป็นการยืนยันกับสังคมว่าในวงการครูนั้นจะควบคุมสอดส่องดูแลความประพฤติของกลุ่มครูด้วยกันตลอกเวลา มีการลงโทษทางกฎหมายและทางสังคม
การควบคุมความประพฤติหรือการปฏิบัติตนของครูนั้น วิธีการที่ดีที่สุดคือการสร้างจิตสำนึกหรือการควบคุมทางจิตใจ ครูมีจรรยาบรรณย่อมมีคุณธรรมสูง คุณธรรมเป็นมาตราวัดมาตรฐานความเป็นครูของผู้ประกอบวิชาชีพครูที่สำคัญยิ่ง ครูที่มีคุธรรมย่อมเป้นครูที่มีจรรยาบรรณที่ดีนั่นเอง
ความหมายของคุณธรรม จริยธรรม เละจรรยาบรรณ
คำว่าคุณธรรมและจริยธรรมนั้นเป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน ทั้งในวงการศึกษา สังคมวิทยา ปรัชญา และศาสนาทั่วๆไป อย่างไรก็ดีความหมายของคุณธรรมนั้นมักจะใช้ในลักษณะที่ครอบคลุมความหมายของจริยธรรมด้วยทั้งในศัพท์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กล่าวคือจริยธรรมเป็นการแสดงออกให้ผู้อื่นเห็นคุณธรรมที่อยู่ภายในจิตใจของแต่ละบุคคลนั่นเอง
ความหมายของคุณธรรม
คุณธรรม ตามรูปศัพท์แปลว่า สภาพของคุณงามความดี ซึ่งพระปิฎก (ป.อ.ปยุโต 2538 : 34) อธิบายความหมายไว้ว่า คุณธรรมคือ ธรรมที่เป็นคุณ ความดีงาม สภาพที่เกื้อกูล
พระเทพวิสุทธิเมธี (พุทธทาสภิกขุ 2529 : 90) อธิบายไว้ว่าคุณธรรมหมายถึงคุณสมบัติฝ่ายดี เป็นที่ตั้งหรือเป็นประโยชน์แก่สันติภาพหรือสันติสุข คุณธรรมเป็นส่วนที่ต้องอบรมโดยเฉพาะ หรือให้เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมกับที่ต้องการ
คุณธรรม (Ethics) ตามแนวคิดในวงการการศึกษาตะวันตกนั้นมีลักษณะเป็นสหวิทยาการ (Interdisciplines) คือเป็นแนวคิดทั้งในลักษณะวิชาปรัชญา จิตวิทยา สังคมวิทยาและการศึกษาแนวความคิดของนักวิชาการตะวันตกค่อนข้างหลากหลายและมีพื้นที่ของศาสตร์การศึกษาที่แตกต่างกันค่อนข้างชัดเจน
ซามูเอล สตัมพ์ (Samul E.Stumpf 1977 : 3) อธิบายความหมายของคุณธรรมในเชิงวิชาปรัชญาว่า คุณธรรมเป็นการประพฤติปฏิบัติเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่าถูกหรือผิด ดีหรือเลว พึงประสงค์หรือไม่พึงประสงค์ มีคุณค่าหรือไร้ค่า นอกจากนี้คุณธรรมยังเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบ หน้าที่ พฤติกรรมที่ยอมรับนับถือต่างๆของแต่ละบุคคลอีกด้วย อย่างไรก็ดี สตัมพ์อธิบายว่า ในเรื่องทฤษฏีคุณธรรมของลัทธิปรัชญานั้น จะไม่ใช้ตอบคำถามว่าคุณธรรมใดดีกว่า หรือถูกต้องกว่า
เบอร์ตัน พอร์ตเตอร์ (Burton F.Porter 1980 : 233) ชี้แจงว่าคุณธรรมเป็นปัจจัยการดำรงชีวิตของบุคคลในสังคม คนส่วนใหญ่ดำรงชีวิตในสังคมนั้นไม่ใช่แต่การมีชีวิตอยู่เพียงเท่านั้น แต่ต้องประเมินและเลือกวิถีชีวิตที่แต่ละคนคิดว่าน่าจะดีกว่าหรือควรดีกว่า ปัจจัยในการเลือกนั้นย่อมเกี่ยวข้องกับระบบคุณธรรมทั้งระบบคุณธรรมของสังคมและส่วนบุคคล คุณธรรมของสังคมย่อมส่งผลกระทบต่อบุคคลด้วย อย่างไรก็ดีคุณธรรมของคนในสังคมหนึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องดีหรือเป็นสิ่งที่ถูกต้องในอีกสังคมหนึ่งก็ได้
จากความหมายดังกล่าวนั้น อาจจะกล่าวได้ว่าคุณธรรมของครูคือ สภาพที่เกื้อกุลครูพระเทพวิสุทธิเมธี (พุทธธาตุภิกขุ 2529 : 91) อธิบายว่า คุณธรรมของครูคือสภาพของครูที่สมบูรณ์ด้วยสิทธิและหน้าที่ของครูนั่นเอง
ความหมายของจริยธรรม
จริย แปลว่า กิริยา ความประพฤติ การปฏิบัติ ฉะนั้นจริยธรรมจึงหมายถึงแนวทางการปฏิบัติสำหรับมนุษย์เพื่อให้บรรลุถึงสภาพชีวิตที่พึงประสงค์
พระเทพวิสุทธิเมธี (พุทธทาสภิกขุ 2529 : 215 ) อธิบายว่า จริยธรรมหมายถึง ตัวของกฎที่ต้องปฏิบัติ ส่วนจริยศาสตร์ คือเหตุผลสำหรับใช้อธิบายกฎที่ต้อปฏิบัติ มีลักษณ้เป็นปรัชญา และเมื่อรวมทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันจะเรียกว่าจริยศึกษา
พจนานุกรม Collin Coluild (1987 : 937) อธิบายว่าจริยธรรมมีความหมาย 2 นัยคือ
1. โดยนัยที่เป็นภาวะทางจิตใจ (Idea) นั้น จริยธรรมแปลว่า ความคิดที่ว่าบางพฤติกรรมเป็นสิ่งที่ถูกต้องและควรทำและเป็นที่ยอมรับและบางพฤติกกรมเป็นสิ่งที่ผิดหรือเลว ทั้งนี้เป็นไปได้โดยความคิดเห็นของแต่ละบุคคลและโดยความคิดเห็นของสังคม นอกจากนี้จริยธรรมยังเป็นคุณภาพหรือสถานะในการดำเนินชีวิตอยู่อย่างถูกต้อง
2. จริยธรรมเป็นระบบของลักษณะการและคุณค่าที่เกี่ยวพันกับพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเป็นทียอมรับของสังคมหรือเฉพาะกลุ่มคน
จริยธรรม แปลว่า สิ่งที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ หรือกฎที่ควรปฏิบัติในทางที่ดี ที่ควรกระทำเพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีหรือมีสันติสุขในสังคม ในการเทศนาสั่งสอนของพระสงฆ์ในศาสนาพุธนั้นมีสองแบบคือเทศนาธรรม หมายถึงการบอกหรือการอธิบายข้อความต่างๆ ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีประโยชน์หรือเป้าประสงค์อย่างไร ส่วนเทศนาจริยะคือ การอบรมและการอธิบายสิ่งที่พึงกระทำหรือบอกถึงพฤติปฏิบัติในทางที่ดี
ดวงเดือนพันธุมนาวิน (2524 : 3) อธิบายว่า จริยธรรม (Morality) หมายถึงลักษณะทางสังคมหลายลักษณะของมนุษย์ และมีขอบเขตรวมถึงพฤติกรรมทางสังคมลักษณะต่างๆ ด้วยลักษณะและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม จะมีคุณสมบัติสองประเภท คือ เป็นลักษณะที่สังคมต้องการกับลักษณะสังคมไม่ต้องการ ให้มีอยู่ในตัวสมาชิกของสังคมนั้นๆ พฤติกรรมที่สังคมนิยมชมชอบ ให้การสนับสนุน และผู้กระทำส่วนมากเกิดความพอใจว่าการกระทะนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม ส่วนอีกพฤติกรรมที่สังคมไม่นิยมหรือไม่ตองการให้สมาชิกมีอยู่เป็นการกระทำที่สังคมลงโทษหรือพยายามจัดและผู้กระทำพฤติกรรมนั้นรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและสมควร